ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ซอฟต์แวร์คืออะไร อาการเสียซอฟต์แวร์

 ซอฟต์แวร์ (software) คืออะไร


        ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบ
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู.เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ.2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ

ความสัมพันธ์กับฮาร์ดแวร์

       ซอฟต์แวร์ เป็นชื่อเรียกเพื่อใช้เปรียบต่างกับฮาร์ดแวร์ ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพในการเก็บและประมวลผลของซอฟต์แวร์ ในคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานในแรมและประมวลผลผ่านซีพียู

ประเภทของซอฟต์แวร์

การแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหลายแบบ เช่น
การแบ่งเชิงเทคนิค อาจแบ่งซอฟต์แวร์เป็น 3 ประเภทหลักคือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System/Infrastructure software) ใช้ในการทำให้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ได้ โดยรวมถึงระบบปฏิบัติการ ไดรเวอร์ และระบบหลักของคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
โปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดำเนินงานต่าง ๆ โดยทั่วไปเช่น โปรแกรมสำนักงาน ฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์เกม เว็บเบราว์เซอร์ โดยโปรแกรมประยุกต์จะมีจียูไอ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Tools/Utilities) ประกอบไปด้วยเครื่องมือช่วยให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมอื่น ๆ หรือโปรแกรมประยุกต์ได้ เครื่องมือต่าง ๆ ประกอบไปด้วย คอมไพเลอร์ อินเตอร์พรัเตอร์ ดีบักเกอร์
การแบ่งตามรูปแบบการส่งมอบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package software) ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดยคิดค่าบริการเป็น transaction หรือ license
ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเงินเดือน (Outsources software development) เป็นการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะกับงานประเภทต่าง ๆ เฉพาะกิจกรรมไป ส่วนใหญ่ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นี้จะเป็นของผู้ที่ว่าจ้างให้พัฒนาขึ้น
การแบ่งตามประเภทของการนำไปใช้งานหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการทั่วไป (Enterprise software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานเพื่อแก้ปัญหา/จัดการทรัพยากรของ บุคคล/องค์กร เช่น ซอฟต์แวร์บัญชี ซอฟต์แวร์จัดทำเอกสาร เป็นต้น
ซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (Mobile applications software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านระบบปฏิบัติการพิเศษบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมทางธุรกิจ (Business applications) เช่น Mobile banking, Mobile payment, GPS on Mobile, Mobile applications for business process management และ(2) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการและบันเทิง (Entertainment applications) ซึ่งรวมเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded System Software) เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งฝังอยู่ไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ระบบ GPRS ระบบทำความเย็นอัจริยะ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ กับ ไลบรารี
       ซอฟต์แวร์แตกต่างกับไลบรารี คือซอฟต์แวร์สามารถนำมาประมวลผลได้ด้วยตัวเอง ในขณะที่ไลบรารีเป็นส่วนประกอบของซอฟต์แวร์และไม่สามารถนำมาใช้ประมวผลด้วยตนเองได้

ซอฟต์แวร์คืออะไร มีกี่ประเภท ประโยชน์ของซอฟต์แวร์มีอะไรบ้าง

คอมพิวเตอร์ก็มีส่วนประกอบที่สามารถมองเห็น จับต้องรูปคลำได้ เช่น เม้าส์ จอภาพ คีย์บอร์ด ลำโพง ของกลุ่มนี้เราเรียกกันว่า Hardware แต่พวกเรารู้กันหรือไม่ว่า ยังมีอีกส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ที่สำคัญมาก ถ้าไม่มีส่วนนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะไม่สามารถทำงานได้เลย ส่วนสำคัญกลุ่มนี้ คือ Software นั่นเอง Software คืออะไรกัน ไปทำความรู้จักกันดีกว่าครับ
Software คืออะไร
Software เป็นชุดคำสั่งที่ใช้ในการสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน โดยจะอยู่ในลักษณะเป็นชุดคำสั่งหรือที่เรารู้จักในรูปแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นการทำงานของตัว Software จึงเหมือนตัวกลางที่คอยติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้งาน และคอมพิวเตอร์ให้เข้าใจกัน

ซอฟต์แวร์
Windows 10 – ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติล่าสุดจาก Microsoft



Software มีกี่ประเภท
พวกเราสามารถแบ่ง Software ได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้การติดต่อประสานกันระหว่าง อุปกรณ์แต่ละชิ้น โปรแกรมแต่ละโปรแกรม ให้สามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหา System Software ที่รู้จักและเป็นที่นิยมกันมาก เช่น Windows , OSX, Linux เป็นต้น
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นมาเป็นโปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เฉพาะได้ พูดง่ายๆ ก็คือ โปรแกรมที่เรากำลังใช้กันอยู่ทุกวันนี้นี่เอง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ยังแบ่งได้อีก 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เช่น ซอฟต์แวร์นำเสนองาน ซอฟต์แวร์การติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูล และอีกประเภท คือ ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน ซึ่งจะทำขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเท่านั้น เช่น โปรแกรมสำหรับควบคุมเครื่องจักรกล

ประโยชน์ที่มากมายของ Software
Software เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานประเภทต่างๆ ได้ เช่น เข้าถึงสื่อข้อมูลต่างๆ ใช้งานประเภทโปรแกรมแปลภาษา โปรแกรมด้านการคำนวณ โปรแกรมประมวลผลคำ หรือระบบการจัดการต่างๆ ซึ่งตัวอย่างที่บอกมานี้ช่วยให้การทำงานของพวกเราเป็นไปได้อย่างง่ายดายมากขึ้นครับ

Software หลายๆตัวมีราคาสูง อาจะเป็นเพราะผู้ผลิตอยู่ในต่างประเทศ เมื่อมีการนำเข้ามาในประเทศไทย ราคาก็ย่อมสูงเป็นเรื่องธรรมดา แต่ทุกวันนี้ผู้คนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกันได้มากขึ้น จึงทำให้ Software หลายตัวมีผู้คนนำมาลงไว้ให้คนอื่นได้สามารถ download ไปใช้งานกัน ซึ่งถ้าเป็นประเภท Freeware ผู้ผลิตอนุญาตให้เราใช้งานกันได้ไม่เสียเงิน แต่บางประเภทเป็นแบบ Shareware หรือเวอร์ชั่นทดลองใช้ แต่เราพยายามหาวิธีการเพื่อให้ใช้งานได้ตลอด การทำแบบนี้เป็นความผิดได้นะครับ เพราะฉะนั้นอย่างไร เราก็ควรที่จะใช้ Software ที่ถูกต้องตามกฎหมายนะครับ เพื่อผู้ผลิตจะได้มีกำลังใจในการสร้าง Software ที่ดีมาใช้กันนะครับ

ปัญหาอาการเสีย ทางSoftware

ปัญหาอาการเสีย ทางSoftware แบ่งเป็น 2 หมวดใหญ่ๆ คือ 

1. เสียที่ระบบปฏิบัติการ ( Operating System: OS ) เช่น Windows ชนิดต่างๆ, Mac OS, Linux, Unix อาการเสียของ OS มีสาเหตุหลายประการ อาทิ - การ ปิดเครื่องอย่างทันทีทันใด เช่น ไฟดับ, ขณะ Shutdown เครื่อง แล้วถอดปลั๊กหรือปิด UPS ทันที ในขณะที่เครื่องยัง Shutdown ไม่เรียบร้อย - อุปกรณ์เสียเช่น Harddisk, Ram เป็นต้นในขณะใช้งาน อันเนื่องจากอายุของเครื่อง, อุปกรณ์มีปัญหาจากการผลิต เป็นต้น - ติด Virus, Spyware เป็นต้น 

ลักษณะของอาการเสีย  :-\

- Windows ขี้นหน้าจอสีฟ้า มีตัวหนังสือสีขาว (Blue Screen)
- เปิดเครื่องขึ้นมา แล้วขึ้นคำว่า "NTLDR missing", "Not Found Operation System", " Insert Disk" เป็นต้น 
- เปิดเครื่องขึ้นมาแล้ว restart ก่อน Windows จะพร้อมทำงาน - ฯลฯ 

การแก้ปัญหา  O0

- ลง Windows ใหม่ 

- แก้ไข System Files ที่หายไปกลับมา 

- Repair Windows - ฯลฯ

2. เสียที่โปรแกรมประยุกต์ ( Application Software)

เช่น Word, Excel, Internet Explorer (IE), Winamp เป็นต้น อาการเสียของ โปรแกรม มีสาเหตุหลายประการ อาทิ 

- ติด Virus, Spyware เป็นต้น

การแก้ปัญหา : กำจัด Virus, Spyware นั้นๆ ออกไป


- ปัญหาจากการทำงานของโปรแกรมที่ใช้งานเอง

การแก้ปัญหา :

1. ติดตั้งโปรแกรมใหม่ 

2. เปลี่ยนไปใช้โปรแกรม Version ใหม่ขึ้น หรือ ต่ำลง ให้เหมาะกับเครื่อง, OS (Windows) ของเรา 

3. เปลี่ยนไปใช้โปรแกรมอื่นๆ ที่ไม่มีปัญหานั้นๆ 

- ปัญหาความไม่เข้ากันของโปรแกรมประยุกต์กับ OS

การแก้ปัญหา :

1. ตรวจเช็ค OS และเปลี่ยนโปรแกรมให้เหมาะกับ OS นั้นๆ 

2. เปลี่ยน OS หากเราจำเป็นต้องใช้โปรแกรมนั้นๆ
การตั้งค่าเริ่มต้นใช้งาน (config) ของโปรแกรมผิดพลาด

การแก้ปัญหา : ปรับแต่ง config ของโปรแกรมใหม่
 ปัญหาจากระบบปฏิบัติการ อาจเกิดจากการที่ระบบปฏิบัติการติดไวรัส ไฟล์บางส่วนของระบบปฏิบัติการเสียหรือหายไป หากมีปัญหา ให้ลองติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่โดยอาจทำการทวนการติดตั้ง (Re-install) หรือ ติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่เลย คือต้องทำการลบระบบปฏิบัติการเดิมออกก่อนแล้วติดตั้งใหม่เลย สาเหตุอีกอย่างคือหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้ติดตั้งไดรเวอร์(Driver)ที่ถูกต้องบนระบบปฏิบัติการ อาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานผิดเพี้ยนไปได้เช่นกัน



 ปัญหาจากโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ เมื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการเรียบร้อยดีแล้ว และเริ่มติดตั้งโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ แล้วเกิดปัญหาขึ้น ก็ให้สันนิษฐานว่าโปรแกรมประยุกต์นั้นมีปัญหา โดยอาจติดตั้งโปรแกรมใหม่ หรือหาตัวติดตั้งโปรแกรมจากที่อื่นมาติดตั้งดูใหม่ หากยังมีปัญหาอีก ก็ให้ลองตรวจดูว่าโปรแกรมที่ต้องการติดตั้งนั้นมีความต้องการพื้นฐานอะไรบ้าง ต้องการฮาร์ดแวร์แบบอะไรบ้าง ต้องการระบบปฏิบัติการรุ่นไหนสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร หากถูกต้องก็ลองติดตั้งโปรแกรมอื่น ที่สามารถทำงานได้ใกล้เคียงกับโปรแกรมที่ต้องการใช้


สาเหตุอื่น ๆ


บางครั้งความไม่รู้ของผู้ใช้เองก็อาจเป็นปัญหาในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นการปิดเครื่องอย่างผิดวิธี เช่นการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โดยการดึงปลั๊กเลยโดยไม่ทำการปิดเครื่อง (Shutdown) อย่างถูกขั้นตอน ก็อาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เสียหายได้ทั้งส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์


เรื่องอุณหภูมิของห้องที่ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นก็มีส่วนเป็นอย่างมากต่อความมีเสถียรภาพของเครื่อง เนื่องจากหากอุณหภูมิของห้องสูงขึ้นมากแล้วจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะซีพียูทำงานผิดเพี้ยนไปหรือหยุดทำงานไปเลย หรือในกรณีที่เลวร้ายที่สุดคือซีพียูพังไปเลยก็มี


ปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่พบกันบ่อย ๆ และแนวทางการแก้ไขเบื้องต้น

- หลังจากติดตั้ง Windows ใหม่แล้วเกิดการค้าง ไม่ยอมทำการติดตั้งต่อไป

เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สิ่งหนึ่งที่พบบ่อย ๆ คือการตั้งค่า Virus Warning ในไบออส ไว้ทำให้เครื่องไม่สามารถ เขียนข้อมูลทับลงบนส่วนของ boot record ของฮาร์ดดิสก์ได้ ให้ลองแก้ใน ไบออส ตั้งให้เป็น Disable ไว้ก่อน และหลังจากทำการ Setup Windows เสร็จแล้วค่อยตั้งเป็น Enable ใหม่

- หลังจาก Setup Windows จะขึ้นข้อความ Windows Protection Error

ที่พบบ่อย ๆ มากคือปัญหาของ RAM อาจจะเป็นเฉพาะช่วงที่ทำการ Setup Windows เท่านั้น (โดยที่ปกติก่อน Setup Windows จะใช้งานได้ ไม่เป็นอะไร) ให้ทดลองหา RAM มาเปลี่ยนใหม่ดู หรือหากเป็น SDRAM ให้ทดลองตั้งค่าใน ไบออส ค่าของ CAS จากที่ตั้งเป็น 2 ลองตั้งเป็น 3 ดู อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้

- ใช้ซีพียูรุ่น AMD K6II-350 ขึ้นไปติดตั้ง Windows95 แล้วเกิด Error แต่ใช้ Windows98 ได้

จะเกิดจากการใช้ CPU ของ AMD ที่มีความเร็วตั้งแต่ 350MHz ขึ้นไปกับ Windows95 วิธีแก้ไขคือไปดาวน์โหลดแพทช์ (Patch) สำหรับแก้ปัญหานี้ที่ AMDK6UPD.EXE มาแก้ไขโดยสั่งรันไฟล์นี้แล้วบูทเครื่องใหม่

- ปัญหาขนาดของRAMผิดเพี้ยนไป

อาการของ RAM หายไปมักจะเกิดกับการใช้เมนบอร์ดรุ่นที่มี VGA on board ที่จริงก็ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ส่วนหนึ่งของ RAM จะถูกนำไปใช้กับ VGA และขนาดที่จะโดนนำไปใช้ก็อาจจะเป็น 2M, 4M, 8M ไปจนถึง 128M. ก็ได้ขึ้นอยู่กับการตั้งในไบออส

- ใช้เครื่องได้สักพัก มักจะแฮงค์(Hang)

อาจจะเกิดจากความร้อนสูงเกินไป ขั้นแรกให้ตรวจสอบพัดลมต่าง ๆ ว่าทำงานปกติดีหรือเปล่า หากเครื่องทำโอเวอร์คล็อก (Over Clock) อยู่ด้วยก็ทดลองลดความเร็วลงมา ใช้แบบงานปกติดูก่อนว่ายังเป็นปัญหาอยู่อีกหรือเปล่า ถ้าในไบออส มีระบบดูความร้อนของซีพียู หรือเมนบอร์ดอยู่ด้วยให้สังเกตค่าของ อุณหภูมิ ว่าสูงเกินไปหรือเปล่า ทั้งนี้อาจจะทำการเพิ่มการติดตั้งหรือเปลี่ยนพัดลมของซีพียูช่วยด้วย

- มีข้อความ “BIOS ROM CHECK SUM ERROR” ตอนเปิดเครื่อง

อาการนี้ส่วนใหญ่เกิดจากถ่านของไบออส หมดหรือเกิดการหลวม ให้ลองขยับถ่านให้แน่น ๆ ดูก่อน ถ้าไม่หายก็ต้องลองเปลี่ยนถ่านบนเมนบอร์ดดู (ก่อนเปลี่ยนถ้ามี Meter วัดไฟดูก่อน) หลังจากเปลี่ยนแล้วให้ทำการล้างค่าต่าง ๆ (Clear) ของไบออสก่อนด้วย เมนบอร์ดบางรุ่นอาจจะใช้ Jumper เพื่อทำการล้างค่าต่าง ๆ ของไบออส โดยทำการ Jump ค้างไว้สัก 5 วินาทีแล้วก็ Jump กลับที่เดิมก่อน หรืออาจจะดูวิธีการจากคู่มือเมนบอร์ด หลังจากนั้นต้องเข้าไปตั้งค่าต่าง ๆ ของไบออส ใหม่

- ลืม Password ของ ไบออส จะทำยังไงดี

ให้ทำเหมือการล้างค่าต่าง ๆ ของไบออสนั่นเองโดยการ Jump ค้างไว้สัก 5 วินาทีแล้วก็ Jump กลับที่เดิมก่อน หรืออาจจะดูวิธีการจากคู่มือเมนบอร์ด หลังจากนั้นต้องเข้าไปตั้งค่าต่าง ๆ ของไบออส ใหม่

- ซื้อฮาร์ดดิสก์มาขนาดใหญ่ ๆ แต่หลังจากทำการฟอร์แมท (Format) แล้วเครื่องมองเห็นแค่ 2GB.

อย่างแรกให้ดูก่อนเลยว่า ใช้ระบบไฟล์แบบ FAT16 หรือ FAT32 ถ้าหากเป็น FAT16 จะมองเห็นได้สูงสุดแค่ 2G ต่อ 1 Partition เท่านั้น ต้องใช้แบบ FAT32 วิธีการคือใช้ FDISK ของแผ่น Startup Disk WIN98 มาทำ FDISK (ถ้าเป็น FDISK จาก DOS หรือ WIN95 จะเป็นแบบ FAT16)

- ไม่สามารถใช้งาน ฮาร์ดดิสก์ได้มากกว่า 8 GB. สำหรับเมนบอร์ดรุ่นเก่า ๆ

เกิดจากที่ ไบออส ไม่สามารถรู้จักกับ ฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่ ๆ ได้ จะเป็นกับเมนบอร์ดรุ่นเก่า หรือบางครั้ง Windows มองเห็นเกิน 8 GB. แต่ไม่สามารถใช้งานได้ จะบอกว่าฮาร์ดดิสก์เต็ม วิธีแก้ไขอย่างแรกคือ ให้ลองทำการอัพเดทไบออส เป็นรุ่นใหม่ดูก่อน (ถ้าหาได้) หรือไม่ก็ดาวน์โหลดโปรแกรมสำหรับจัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ จากเว็บไซต์ของผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อนั้น ๆ หรืออาจจะใช้วิธีการแบ่ง Partition ให้มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 8 GB. ต่อ 1 พาร์ทิชั่นก็อาจจะช่วยได้

- ซื้อฮาร์ดดิสก์มาขนาดใหญ่ ๆ แต่ไม่สามารถทำ FDISK แบ่งใช้งานได้

ปัญหานี้ มักจะพบกับฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 64 GB. ขึ้นไป ปัญหาเกิดจากโปรแกรม FDISK ของ Windows 98 ไม่สามารถ จัดการกับฮาร์ดดิสก์ ที่มีขนาดใหญ่กว่า 64 GB. ได้ ต้องไปทำการดาวน์โหลด Free FDISK ตัวใหม่มาใช้งานแทน หรือโหลดตัวแก้ไขจาก Microsoft หรือไม่ก็ใช้ FDISK ที่ได้จาก Windows Me แทน อีกวิธีหนึ่งคือใช้แผ่นดิสก์ ที่ทำมาจากโปรแกรม Partition Magic ก็ได้

- พิมพ์หน้าเว็บเพจออกเครื่องพิมพ์แบบ Ink Jet เป็นภาษาไทยไม่ได้

ส่วนใหญ่ ปัญหานี้จะเกิดกับการใช้เครื่องพิมพ์แบบ อิงค์เจ็ท รุ่นใหม่ ๆ วิธีแก้ไขคือ ให้ลองหา ดาวน์โหลดไดรเวอร์รุ่นใหม่ ๆ ของเครื่องพิมพ์จาก Web Site ของเครื่องพิมพ์นั้น ๆ เพราะบางครั้งอาจจะมีการแก้ไขปัญหานี้แล้ว หรือไม่ก็ใช้วิธีเข้าไปตั้งค่า Regional Settings ที่ Control Panel เป็น English(USA) ก่อน เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วก็เปลี่ยนกลับมาเป็น Thai เหมือนเดิม การตั้งค่าก็ทำโดยกดที่ Start เมนู >> Settings >> Control Panel เลือกที่ Regional Settings เปลี่ยนเป็น English(USA)






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ซอฟต์แวร์ (software) คืออะไร         ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู.เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ.2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ ความสัมพันธ์กับฮาร์ดแวร์        ซอฟต์แวร์ เป็นชื่อเรียกเพื่อใช้เปรียบต่างกับฮาร์ดแวร์ ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพในการเก็บและประมวลผลของซอฟต์แวร์ ในคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานในแรมและประมวลผลผ่านซีพียู ประเภทของซอฟต์แวร์ การแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหล...